วันเสาร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 14 วันศุกร์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2559 เวลา 08:30-12:30

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 14 วันศุกร์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2559 เวลา 08:30-12:30

บรรยากาศภายในห้องเรียน
ในวันนี้อาจารย์แจกแบบฟอร์มให้แต่ละกลุ่ม และอาจารย์ก็อธิบายการเขียนแผนการจัดประสบการณ์อย่างละเอียด จากนั้นก็มาอธิบายแบบฟอร์มว่าแต่ละหน้าให้ทำอย่างไรบ้าง ควรบูรณาการคณิตศาสตร์อย่างไรบ้าง จากนั้นก็มีการสนทนากับนักศึกษาเกี่ยวกับการเรียนวิชานี้


ทักษะที่ได้จากการเรียนวันนี้
-การระดมความคิด
-การเขียนแผน

การนำไปประยุกต์ใช้
-สามารถนำการเขียนแผนไปต่อยอดในวิชาอื่นๆได้

การประเมิน
ประเมินตนเอง
-ตั้งใจเรียนดีค่ะ
ประเมินเพื่อน
-ตั้งใจเรียน ตอบคำถาม มีส่วนร่วมไปกับอาจารย์
ประเมินอาจารย์
-เฮฮา เข้าใจนักศึกษา มีวิธีการสอนที่ไม่น่าเบื่อ แต่งกายสุภาพ ตรงต่อเวลา

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 13 วันศุกร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2559 เวลา 08:30-12:30 น.

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 13 วันศุกร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2559 เวลา 08:30-12:30 น.

บรรยากาศภายในห้องเรียน
วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มช่วยกันแต่งนิทานกลุ่มละ1เรื่อง เป็นขั้นนำเข้าสู่บทเรียน และให้เขียนแผนจัดประสบการณ์ของแต่ละคนในกลุ่มตามวันที่แต่ละคนได้รับมอบหมาย



ทักษะที่ได้จากการเรียนในวันนี้
-ทักษะการแก้ปัญหา
-การเขียนแผน
-การคิด

การนำไปประยุกต์ใช้
-นำไปสอนเด็กได้โดยใช้สื่อนิทาน
-ฝึกเขียนแปนการสอนไปต่อยอดในการเรียนในขั้นสูงขึ้นไป

การประเมิน
ประเมินตนเอง
-ตั้งใจเรียน เข้าใจในการสอน การแต่งนิทาน
ประเมินเพื่อน
-ตั้งใจเรียนให้ความร่วมมือในการเรียนดี
ประเมินอาจารย์
-เข้าใจนักศึกษา ตั้งใจสอน แต่งกายสุภาพ สอนได้หลากหลาย

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 12 วันศุกร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2559 เวลา 08:30-12:30 น

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 12 วันศุกร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2559 เวลา 08:30-12:30 น

บรรยากาศภายในห้องเรียนวันนี้อาจารย์แนะนำและถามแต่ละกลุ่มว่ามีไอเดียในการทำแผนการสอนอย่างไร
จากนั้นอาจารย์ก็ช่วยปรับช่วยเพิ่มให้แผนประสบการณ์เป็นไปได้ดีมากกว่าเดิม
และได้ให้แต่ละกลุ่มออกมาสอนตามแผนที่วางไว้ในวันจันทร์และวันอังคาร แต่ละกลุ่มมีขั้นนำการสอนที่หลากหลาย
พอแต่ละกลุ่มสอนเสร็จอาจารย์ก็มีคำแนะนำให้แต่ละกลุ่มว่าควรปรับปรุงแก้ไขในเรื่องใดบ้าง

ทักษะที่ได้จากการเรียนในวันนี้
-การแก้ปัญหา
-การสอนหน้าชั้น
-การคิด

การนำไปประยุกต์ใช้
-นำไปต่อยอดทางการศึกษาคณิตศาสตร์
-นำไปสอนเด็กได้

การประเมิน
ประเมินตนเอง
-ตั้งใจเรียนดี
ประเมินเพื่อน
-ตั้งใจเรียน
ประเมินอาจารย์
-ตั้งใจสอน ตรงต่อเวลา

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 11 วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2559 เวลา 08:30-12:30 น.

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 11 วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2559 เวลา 08:30-12:30 น.

บรรยากาศภายในห้องเรียน
วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาคิดแผนการสอนที่เคยมอบหมายไปตามวันคือ
วันจันทร์เรื่องประเภท
วันอังคารเรื่องลักษณะ
วันพุธเรื่องวิธีดูแลรักษา
วันพฤหัสบดีเรื่องประโยชน์
วันศุกร์เรื่องข้อควรระวัง
โดยแต่ละวันต้องมีการนำกิจกรรมไม่ว่าจะเป็น เพลง นิทาน คำคล้องจอง เกม ปริศนาคำทาย. และต้องให้สัมพันธ์หรือสอดคล้องกับสาระการเรียนรู้ทั้ง 6 อย่าง
1.จำนวนและการดำเนินการ
2.การวัด
3.เรขาคณิต
4.พีชคณิต
5.การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
6.ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
โดยการทำแผนการสอนควรมีการบูรณาการทางคณิตศาสตร์ร่วมด้วย

ทักษะที่ได้จากการเรียนวันนี่
-ได้การวางแผน
-การระดมความคิด
-เชื่อมโยงกิจกรรมและทักษะคณิตศาสตร์
-การแก้ปัญหา

การนำไปประยุกต์ใช้
-สามารถนำไปจัดประสบการณ์สอนเด็กได้

การประเมิน
ประเมินตนเอง
-ตั้งใจเรียนดี
ประเมินเพื่อน
-ตั้งใจเรียนดี
ประเมินอาจารย์
-สอนดี มีเทคนิควิธีการสอน เข้าใจในนักศึกษา

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่10 วันศุกร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2559 เวลา 08:30-12:30 น.

บันทึกการเรียนครั้งที่10 วันศุกร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2559 เวลา 08:30-12:30 น

บรรยากาศภายในห้องเรียน
อาจารย์ได้มอบหมายให้นักศึกษาจับกลุ่ม กลุ่มละ5คน และคิดเรื่องในการจัดประสบการณ์5วัน เพื่อนนำไปคิดแผนการจัดประสบการณ์ การบูรณาการและเพื่อนๆได้คิดกันคือ
1.ผัก
2.ผลไม้
3.ตัวฉัน
4.ยานพาหนะ
5.ผีเสื้อ


โดยแต่ละเรื่องจะจัดเป็น
วันจันทร์-ประเภท
วันอังคาร-ลักษณะ
วันพุธ-วิธีดูแลรักษา
วันพฤหัสบดี-ประโยชน์
วันศุกร์-ข้อควรระวัง


ทักษะที่ได้จากการเรียนวันนี้
-การวางแผน


การนำไปประยุกต์ใช้
-สามารถนำไปคิดแผนการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กได้


การประเมิน
ประเมินตนเอง
-ตั้งใจเรียนและระดมความคิดกับเพื่อนๆ
ประเมินเพื่อน
-ตั้งใจเรียน
ประเมินอาจารย์
-ตั้งใจสอน ให้ความรู้ได้เต็มที่ มีการนำการสอนสนุกๆทำให้การเรียนไม่น่าเบื่อเลยค่ะ

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่9 วันศุกร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2559 เวลา 08:30-12:30 น.

บันทึกการเรียนครั้งที่9
วันศุกร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2559
เวลา 08:30-12:30 น.

บรรยากาศภายในห้องเรียน
ในวันนี้เนื่องจากอยู่ในช่วงที่จะมีการเปลี่ยนตึกของการเรียนในสาขา อาจารย์จึงพากันไปขนของจัดของ การเรียนในวันนี้อาจารย์จึงให้มีการทำงานที่มอบหมายให้ในห้องเป็นการทำสื่อการศึกษา เป็น จิ๊กซอว์จากกระดาษลัง

ทักษะที่ได้จากการเรียนวันนี้
-การแก้ไขปัญหา
-การคาดคะเน
-รูปร่างรูปทรง
-การวัด
-การเปรียบเทียบ
-การวางแผน


การนำไปประยุกต์ใช้
-ในการทำสื่อครั้งนี้สามารถนำไปทำสื่อสอนเด็กได้จากวัสดุที่หาง่ายและเหลือใช้


การประเมิน
ประเมินตนเอง
-ตั้งใจมำงานที่ได้รับมอบหมายให้เสร็จลุล่วงไปได้โดยดี
ประเมินเพื่อน
-เพื่อนตั้งใจทำงาน
ประเมินอาจารย์
-อาจารย์ตั้งใจสอนดี แม้จะติดภารกิจก็พยายามเข้ามาสอนเป็นช่วงๆเพื่อให้นักศึกษาได้ความรู้ในการสอน

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 8 วัน ศุกร์ ที่ 11 มีนาคม พศ.2559 เวลา 08:30-12:30 น.

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 8 วัน ศุกร์ ที่ 11 มีนาคม พศ.2559  เวลา 08:30-12:30 น.

บรรยากาศภายในห้องเรียน
ในวันนี้อาจารย์ได้ให้แต่ละคนนำเสนอทั้ง งานวิจัย บทความ และวีดีโอที่ได้รับมอบหมาย
และให้จับคู่กันทำงานคือ ทำสื่อทางคณิตศาสตร์

โดยวิธีการทำคือ
1. อาจารย์แจกกระดาษสี่เหลี่ยมจตุรัส
 2. ให้แบ่งครึ่งกระดาษออกเป็น 2 ทาง
 3. นำกระดาษร้อยปอนด์มาตัดแล้วแบ่งครึ่งเหมือนกัน
 4. ตีตารางสี่เหลี่มในกระดาษร้อยปอนด์
 5. ทากาวลงในกระดาษลัง แล้วนำกระดาษร้อยปอนด์มาติด
 6. นำเทปสันสีดำมาติดตามเส้นในตาราง
 7. นำเทปใสมาติดประกบให้กระฝั่งติดกัน
 8. นำสติ๊อร์ใสมาเคลือบให้สมบูรณ์








ทักษะที่ได้จากการเรียนวันนี้
-การคำนวณ
-รูปร่างรูปทรง
-การคาดคะเน

บรรยากาศการเรียน
สนุกสนาน เพื่อนๆช่วยเหลือกันดี

การนำไปประยุกต์ใช้
-สามารถนำไปใช้ทำสื่อการสอนเด็กได้

การสอนของอาจารย์-อาจารย์จัดการสอนได้ดี แต่งกายสุภาพ มีเทคนิคการสอนที่ดี

การประเมิน
ประเมินตนเอง
-ตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมาย
ประเมินเพื่อน
-ตั้งใจเรียนและช่วยเหลือกันได้ดี
ประเมินอาจารย์
-ตรงต่อเวลา สอนดี


บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่7 วันพุธที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2559 ดูงาน โรงเรียนพิบูลเวศม์

บรรยากาศภายในโรงเรียน

















วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่6 วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559 เวลา 08:30-12:30 น.

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่6 วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559 เวลา 08:30-12:30 น.

บรรยากาศภายในห้องเรียน
จากสัปดาห์ที่แล้ว ที่อาจารย์แจกไม้ให้เรา ไปตัดออกเปน3ส่วน มาในสัปดาห์นี้ อาจารย์แจกดินน้ำมัน โดยให้จับคู่กัน ทำเป็นรูปทรงตามที่อาจารย์บอก เช่น สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม โดยรูปสามเหลี่ยมจะเปนรูปอะไรก็ได้แต่ให้เป็นสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมจะเป็นสี่เหลี่ยมอะไรก็ได้ ขอให้เป็นสี่เหลี่ยม




กิจกรรมนี้มีขั้นตอนคือ
1.ดูว่าจะทำรูปทรงแบบไหน
2.ดูอุปกรณ์
3.ลงมือปฏิบัติ
4.นำเสนอ
จากนั้นก็นำเสนอบทความ vdo งานวิจัยตามลำดับ
ทักษะที่ได้จากการเรียนวันนี้
-การแก้ปัญหา
-การคิดวิเคราะห์
-รูปร่างรูปทรง
-การปั้น
-การสังเกต
-การตอบคำถาม
-การฟัง
การนำไปประยุกต์ใช้
-สามารถนำไปจัดกิจกรรมให้เด็กได้
-นำความรู้ที่ได้รับมาต่อยอดทางการศึกษาได้
การประเมิน
ประเมินตนเอง
-ตั้งใจเรียน เตรียมความพร้อมมาดี
ประเมินเพื่อน
-ตั้งใจเรียนกันดี
ประเมินอาจารย์
-ตั้งใจสอน ใจดี แต่งกายสุภาพ มีความพร้อมในการสอน

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่5 วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559 เวลา 08:30-12:30 น.

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่5 วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559 เวลา 08:30-12:30 น.

บรรยากาศภายในห้องเรียน

ในการเรียนการสอนวันนี้ อาจารย์ได้ให้นักศึกษานำแผ่นกระดาษมาตีตาราง2 ตาราง ช่องตารางละประมาณ 1 นิ้ว ตารางที่1 ให้ตี 10 ช่อง 2บรรทัด ตารางที่2 ให้ตี 10 ช่อง 3 บรรทัด จากนั้นให้แรเงาตาราง โดยตารางที่1 ให้แรเงาได้2ช่อง ห้ามติดกัน ตารางที่2 ให้แรเงา3ช่อง ห้ามติดกัน รูปทรงที่ได้จะเหมือนกัน เป็นการจัดการสอนแบบให้เด็กได้ลงมือด้วยตนเอง
*จัดกิจกรรมสอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้สัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน เนื้อหาเหมาะสมกับพัฒนาการ
หลักจากนั้นก็มีการนำเสนอบทความ vdo และวิจัย
ทักษะที่ได้จากการเรียนวันนี้
-ทักษะการแก้ปัญหา
-ทักษะเรื่องรูปร่างรูปทรง
-ทักษะการสังเกต
-ทักษะการคิดวิเคราะห์
-การจัดการเรียนการสอนทางคณิตศาสตร์
การนำไปประยุกต์ใช้
-นำไปจัดกิจกรรมทางคณิตศาสตร์ให้เด็กได้
-การจัดประสบการณ์ให้เก็กต้องคำนึงถึงพัฒนาการของเด็กแต่ละวัย
การประเมิน
ประเมินตนเอง
-ตั้งใจเรียนดี
ประเมินเพื่อน
-ตั้งใจเรียนดี
ประเมินอาจารย์
-มีการเตรียมตัวสำหรับการสอนมาดี ตรงต่อเวลา

วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่4 วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559 เวลา 08:30-12:30 น.

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่4 วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559 เวลา 08:30-12:30 น.

บรรยากาศภายในห้องเรียน

วันนี้อาจารย์ได้นำปฏิทินที่เพื่อนๆเคยทำมาให้ดูและให้ช่วยกันออกความคิดเห็นว่าในปฏิทินนั้นส่งเสริมเรื่องใด และสามารถจะนำไปปรับแต่งเพิ่มอะไรได้อีกบ้าง มีทั้งการจัดเวรทำความสะอาด(ผู้ช่วยครู) เกมการศึกษา วันเกิด

จากนั้นก็สอนว่าเด็กนั้นเรียนรู้ได้จากประสาทสัมผัสทั้ง5 มีการเรียนรู้คือต้องมีการปรับเปลี่ยนหรือแสดงพฤติกรรมนั้นๆออกมา


จากนั้นก็ให้เพื่อนๆออกมานำเสนอบทความ vdo และวิจัย

และนำเสนอของเล่นตามลำดับ

และมีการสอนร้องเพลงที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์เพิ่มเติมคือ


เพลงจัปปู

หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า จับปูม้ามาได้หนึ่งตัว
หก เจ็ด แปด เก้าสิบ ปูมันหนีบฉันต้องส่ายหัว
กลัว ฉันกลัว ฉันกลัว ปูหนีบฉันที่หัวแม่มือ



เพลงนกกระจิบ 

นั่นนกบินมาลิบลิบ
นกกระจิบ หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า
อีกฝูงบินล่องลอยมา
หก เจ็ด แปด เก้า สิบตัว




เพลงนับนิ้วมือ
นี่คือนิ้วมือของฉัน มือฉันนั้นมีสิบนิ้ว
มือซ้ายฉันมีห้านิ้ว มือขวาก็มีห้านิ้ว
นับ หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า นับต่อมา หก เจ็ด แปดเก้าสิบ
นับนิ้วนั้นจงอย่ารีรอ นับหนึ่งถึงสิบจำให้ขึ้นใจ




เพลง บวก - ลบ
บ้านฉันมีแก้วน้ำสี่ใบ ครูให้อีกสามใบนะเธอ
มารวมกันนับดีดีซิเออ ดูซิเธอรวมกันได้เจ็ดใบ
บ้านฉันมีแก้วน้ำเจ็ดใบ หายไปสามใบนะเธอ
ฉันหาแก้วแล้วไม่เจอ ดูซิเออเหลือเพียงสี่ใบ


ทักษะที่ได้จากการเรียนวันนี้
-การคิดตอบคำถาม
-การร้องเพลงให้ตรงทำนอง
-การออกแบบของเล่นเพิ่มเติม
-ได้ฝึกการพูดในการออกมานำเสนอ


การนำไปประยุกต์ใช้
-ในการที่เราออกมานำเสนอคือการฝึกการพูด ของเราซึ่งจำเป็นอย่างยิ่ง
-ได้รู้ว่าควรนำของเล่นแบบไหนไปช่วยเสริมทักษะเด็ก
-สามารถนำเพลงที่ได้เรียนวันนี้ไปสอนเด็กได้

การสอนของอาจารย์
-มีการถามเพื่อให้นักศึกษาใช้ความเข้าใจในการตอบคำถาม
-อธิบายในสิ่งที่นักศึกษาไม่เข้าใจ
-สอนตามแผนที่วางไว้

การประเมิน
ประเมินตนเอง
-ตั้งใจเรียนและเตรียมพร้อมในการนำเสนออย่างดี
ประเมินเพื่อน
-ตั้งใจเรียนและตอบคำถาม
ประเมินอาจารย์
-สอนดี แต่งกายสุภาพ ใจดี

วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 3 วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2559 เวลา 08:30-12:30 น.

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 3 วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2559 เวลา 08:30-12:30 น.

บรรยากาศภายในห้องเรียน
   วันนี้เริ่มต้นการเรียนด้วยการเขียนชื่อของตนเองลงในกระดาษที่อาจารย์ได้ เตรียมไว้ให้ ระหว่างที่เขียนชื่อลงในกระดาษ อาจารย์ก็ได้ออกไปเขียนหน้ากระดานดำว่า มาเรียนกับไม่มาเรียนเป็นตาราง ใครที่มาเรียนก็ให้เอาชื่อตัวเองไปติดไว้หน้ากระดานที่อาจารย์ตีตารางไว้ให้ หลังจากที่เพื่อนๆเอารายชื่อของตัวเองไปติดไว้หน้าห้องเรียนกันตรบหมดทุกคน แล้ว อาจารย์ก็ให้นักศึกษาช่วยกันนับจำนวนคนที่มาเรียนว่ามีกี่คน เพื่อรที่มาวันนี้มีทั้งหมด 18 คน ที่ที่ไม่มาเรียน 2 คน ในห้องมีทั้งหมด 20 คน วิธีนี้คือการสอนเกี่ยวกับการเรื่องคณิตศาสตร์ทั้งหมด วิธีที่1การนับจำนวนคนที่มาโดยการนับรายชื่อคนที่มาจะเป็นการยับแแบเพิ่มที่ ล่ะ 1 วิธีที่ 2 การนับชื่อโดยการเขียนเลขไว้ข้างหน้าตารางเพราะใครมาก่อนก็จะให้เอารายชื่อ ไปติดไว้ก่อน  
     จากกิจกรรมข้างต้นนี้ เด็กจะได้ทักษะทางด้าน  การนับเลข และบอกจำนวนได้  เขียนเลขฮินดูอาราบิกได้   บวกลบเลข  รู้จักการเปรียบเทียบ  
      หลังจากที่อาจารย์อธิบายการสอนเสร็จ เพื่อนๆก็จะออกมานำเสนองานที่เตรียมไว้อาทิตย์ล่ะ 3 คน เพื่อนๆจะนำเสนอเกี่ยวกับ บทความ งานวิจับ และโทรทัศน์ครู

     หลังจากที่เพื่อนนำเสนอบทความ ตัวอย่างสื่อการสอนคณิตศาสตร์ และวิจัยที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์จบแล้ว อาจารย์ได้สอนร้องเพลง ซึ่งทุกๆเพลงที่อาจารย์สอน ล้วนเกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ทั้งสิ้น

                                   เพลง สวัสดียามเช้า
ตื่นเช้าแปรงฟันล้างหน้า   อาบน้ำแล้วมาแต่งตัว
กินอาหารของดีมีทั่ว   หนูเตรียมตัวจะไปโรงเรียน
สวัสดีคุณแม่คุณพ่อ  ไม่รีรอรีบไปโรงเรียน
หลั่นล้า หลั่นลา หลั่นหล่า หลั่น ลันลา หลั่นลา หลั่นล้า

เพลงสวัสดีคุณครู
สวัสดีคุณครูที่รัก   หนูจะตั้งใจอ่านเขียน
ยามเช้าเรามาโรงเรียนๆ   หนูจะพากเพียรขยันเรียนเอย

เพลงหนึ่งปีมีสิบสิงเดือน
หนึ่งปีนั้นมีสิบสองเดือน   อย่าลืมเลือนจำไว้ให้มั่น
หนึ่งสัปดาห์นั้นมีเจ็ดวัน  
อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัส ศุกร์ เสาร์ 

เพลงเข้าแถว
เข้าแถว เข้าแถว   อย่าล้ำแนวยืนเรียงกัน
อย่ามัวแชเชือน   เดินตามเพื่อนให้ทัน 
ระวังเดินชนกัน   เข้าแถวพลันว่องไว

เพลงจัดแถว
สองมือเราชูตรง   แล้วเอาลงมาเสมอกับบ่า
ต่อไปย้ายไปข้างหน้า  แล้วเอาลงมาอยู่ในท่ายืนตรง

เพลง ซ้าย-ขวา
ยืนให้ตัวตรงก้มหัวลงตบมือแผละ
แขนซ้ายอยู่ไหนหันตัวไปทางนั้นแหละ

คำศัพท์ทางคณิตศาสตร์
ค่าของเงิน  ความเร็ว อุณหภูมิ ตัวเลข  ขนาด   รูปร่าง  ที่ตั้ง

ทักษะที่ได้จากการเรียนวันนี้
-การคิดวิเคาะห์อย่างมีเหตุผล
-การออกแบบและการคิดสร้างสรรค์
-การใช้ตัวเลขแสดงจำนวนการมาเรียนของเด็ก
-การนับจำนวน
-การสร้างแรงจูงใจที่ทำให้เด็กอยากมาเช้า

การนำไปประยุกต์ใช้
-การเรียงชื่อเด็กว่าใครมาก่อนมาหลัง 
-เช็คการมาเรียนของเด็ก
-สอนเด็กนับจำนวน จากตัวเลขที่เพื่อนมา ไม่มา
-นำเพลงคณิตศาสตร์ไปสอนเด็กทำให้การเรียนสนุก 

การสอนของอาจารย์
-อาจารย์สอนโดยการตั้งประเด็นปัญหา ให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็นเพื่อแลกเปลี่ยน ความรู้ และหลักการในการให้เหตุผล
อาจารย์สอนโดยการสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม
- อาจารย์ให้ข้อคิดและข้อแนะนำในการทำกิจกรรมในห้องเรียน ให้ออกมาได้ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพที่สุด
-ยกตัวอย่างให้เห็นอย่างชัดเจน

การประเมิน
ประเมินตนเอง -ตลอดเวลาที่เรียนสนุกไปกับการเรียน เพราะการสอนที่ไม่น่าเบื่อทำให้รู้สึกว่าเรียนแล้วไม่เครียด เข้าใจ ประเมินเพื่อน -เพื่อนๆให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม ตั้งใจเรียนดี ประเมินอาจารย์ผู้สอน -อาจารย์สอนได้สนุก มีการเตรียมความพร้อม แต่งการสุภาพเรียบร้อย

บันทึกการเรียนครั้งที่ 2 วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ.2559 เวลา 08:30-12:30น.

ไม่ได้เข้าเรียนเนื่องจากไม่สบายค่ะ

วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2559

สรุป งานวิจัย

สรุปงานวิจัย

เรื่องทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมปั้นกระดาษ

ผู้ทำการวิจัยวราภรณ์ วราหน

เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา ตามหลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย สิงหาคม 2556

      จากการเรียนของเด็กไทยพบว่า ความสามารถของเด็กไทยในด้านการคิดคำนวณ มีคะแนนเฉลี่ยต่ำสุด เนื่องจากคณิตศาสตร์ที่มักใช้วิธีสอนในรูปแบบของสัญลักษณ์ คือสอนด้วยการใช้วาจา และเขียน เด็กถูกสอนโดยเครื่องหมาย จำนวน และถูกสอนให้เข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรม ซึ่งเด็กเล็กจะเจอความลำบากในการทำความเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรม และเริ่มคิดว่าเราจะทำอย่างไรให้เด็กเข้าใจในคณิตศาสตร์ได้อย่างไม่ยากเกินไปสำหรับเด็ก จึงนำการปั้นกระดาษที่เป็นกิจกรรมที่เด็กปฐมวัยชื่นชอบมาประยุกต์ใช้ในการสอนคณิตศาสตร์ด้วย เพราะการปั้นกระดาษทำให้เด็กรู้จักขนาด รูปทรง รูปร่าง จำนวน ฝึกการเปรียบเทียบ เพื่อส่งเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์และเป็นแนวในการพัฒนาความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

จุดมุ่งหมายของการวิจัย
1.เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังที่ได้รับการจัดกิจกรรมปั้นกระดาษ
2.เพื่อศึกษาระดับและการเปลี่ยนแปลงของทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยห่อนและหลังที่ได้รับการจัดกิจกรรมปั้นกระดาษ

ขอบเขตของการวิจัย
ประชากรที่ใช้ในการวิจัย
      เด็กปฐมวัยชาย-หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปี กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาล 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนวัดนิมมารดี สำนักงานเขตภาษีเจริญ สังกัดกรุงเทพมหานคร 

กลุ่มตัวอย่างการวิจัย
      เด็กปฐมวัยชาย-หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปี กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาล 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนวัดนิมมารดี สำนักงานเขตภาษีเจริญ สังกัดกรุงเทพมหานครที่ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เลือกมา 1 ห้อง 30 คน

ระยะเวลาการทดลอง
8 สัปดาห์ๆ ละ 3 วันๆ ละ 1 ครั้ง ละ 30 นาที

การดำเนินการทดลอง
1.ผู้วิจัยทำการทดสอบก่อนการทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง เพื่อหาพื้นฐานทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย จากนั้นนำมาตรวจให้คะแนนตามเกณฑ์และเก็บคะแนนไว้เป็นหลักฐาน
2.ผู้วิจัยดำเนินการทดลองในกิจกรรมการปั้นกระดาษ ให้เด็กทำกิจกรรมการปั้นต่างๆก่อนการเรียนคณิตศาสตร์ ใช้เวลา 8 สัปดาห์ๆ ละ 3 วันๆ ละ 1 ครั้งๆ ละ 30 นาที ช่วงเวลา 9:30-10.30 รวมทั้งหมด 24 วัน
3.เมื่อดำเนินการทดลองครบ 8 สัปดาห์ ผู้วิจัยทำการทดสอบหลังการทดลอง กับกลุ่มตัวอย่างโดยใช้แบบทดสอบวัดความสามารถทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ฉบับเดียวกันกับแบบทดสอบที่ใช้กับกลุ่มตัวอย่างก่อนการทดลอง
4.นำคะแนนที่ได้ไปวิเคราะห์

สรุปผลการวิจัย
1.ผลการเปรียบเทียบเด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ทั้งโดยรวมและด้านหลังการจัดกิจกรรมการปั้น สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมการปั้น
2.หลังการจัดกิจกรรมการปั้นเด็กมีพื้นฐานการรู้ค่าจำนวน(การนับ) การเปรียบเทียบ(สูง-เตี้ย ใกล้-ไกล) การจัดหมวดหมู่(ตามรูปทรง ขนาด) การเรียงลำดับ(เรียงลำดับก้อนหินจากเล็กไปหาใหญ่) สูงขึ้น
การนำไปประยุกต์ใช้
-นำกิจกรรมปั้นกระดาษมาใช้ในการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โดยพิจารณาความยาก ง่าย เหมาะสมกับวัยและความสามารถของเด็ก
-สามารถนำการปั้นกระดาษไปช่วยในการสอนคณิตศาสตร์ได้





สรุปบทความ

      อาจบอกได้ว่านิทานเป็นสิ่งที่เด็กๆชื่อชอบ ตรงข้ามกับคณิตศาสตร์ที่เด็กๆมักมองว่ายากและน่าเบื่อ เราจะทำอย่างไรให้เด็กเปลี่ยนความคิด มาสนใจในการเรียนคณิตศาสตร์กัน เพราะจำเป็นต้องใช้ในอนาคต และนิทานนั้นเองก็เป็นสิ่งที่สามารถนำมาสอกแทรกเข้ากับการเรียนคณิตศาสตร์ได้ เพื่อให้เด็กมองเห็นภาพ นับภาพ สนุกไปกับการเรียนรู้ ทำให้เด็กเกิดประสบการณ์จากการมองเห็น และจะถูกบันทึกเป็นฐานข้อมูลไว้ในสมอง ซึ่งประเด็นที่สำคัญของการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ให้เด็กปฐมวัย ต้องเริ่มต้นจากง่ายไปหายาก เปนียบเสมือนเราเดินขึ้นบันไดที่ต้องเดินจากขั้นต่ำไปขั้นสูง

ตัวอย่างนิทานพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์ปฐมวัย

นิทานเรื่อง คุณหนึ่งชวนนับ
( ผู้แต่ง  นาถศจี สงค์อินทร์ )
                        สวัสดีเด็กดี น่ารัก                            คุณเลขหนึ่งทายทัก จำฉันได้ไหม
            เลขหนึ่งมีจำนวนเท่าใด                              นั่นยังไงหนูลองนับดู

                        กระต่าย ตัวกินผัก
ช้างน้อยน่ารัก ตัวกินกล้วย
ปลาแสนสวย  ตัวว่ายมา
หึ่ง หึ่ง บนฟ้า  ผึ้งน้อย ตัว
                      เลขหนึ่งมีจำนวนหนึ่ง                     ถ้าหนูนับหนึ่งหนูต้องรู้ค่า
            นับหนึ่งชู นิ้วขึ้นมา                                   ใครทำได้มารับดาว ดวง 

วันจันทร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่1 วันศุกร์ที่ 8 มกราคม 2559 เวลา 08:30-12:30 น.

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่1 วันศุกร์ที่ 8 มกราคม 2559 เวลา 08:30-12:30 น. บรรยากาศภายในห้องเรียน ในวันนี้เป็นการเรียนวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยวันแรก เพื่อนๆทุกคนที่มาดูกระตือรือร้นในการเรียน เมื่ออาจารย์เข้ามาสอนอาจารย์ก็ทักทายนักศึกษาทุกคนอย่างเป็นมิตร ทำให้การพบกันในวิชานี้ไม่เกร็งและสนุกสนาน อาจารย์ได้มีกิจกรรมให้นักศึกษาทุกคนทำ คือการเขียนจุดเด่นของตนเองที่ผู้อื่นสามารถสังเกตเห็นได้ลงในกระดาษที่อาจารย์ได้แจกให้ โดยกระดาษ1แผ่น ให้จับกลุ่ม3คนแบ่งกระดาษให้เท่ากัน นักศึกษาแต่ละคนเขียนจุดเด่นของตนเอง เมื่อเสร็จอาจารย์ก็จะอ่านข้อความที่นักศึกษาเขียนแล้วทายว่าจุดเด่นนั้นหมายถึงใคร สร้างความสนุกสนานในการเรียนเป็นอย่างมาก ไม่รู้สึกน่าเบื่อเลย นอกจากนี้อาจารย์ยังอธิบายแนวการเรียนของเราทุกคนที่จะเรียนในวิชานี้ มอบหมายให้นักศึกษาทำบันทึกการเรียนลงในblogของตนเอง

การเรียนในวันนี้ความรู้ที่ได้รับ -ในวันนี้อาจารย์กิจกรรมที่อาจารย์ได้ให้กระดาษและแบ่งเป็น1แผ่นต่อ3คน ถือเป็นการเรียนรู้ที่อาจารย์สอนให้นักศึกษารู้จักการคิดแก้ปัญหา ว่าจะทำอย่างไรให้แบ่งกระดาษได้เท่าๆกัน นอกจากนนร้ยังนำเข้าสู่ความรู้ทางคณิตศาสตร์ เพราะมีเศษกระดาษเหลือ1แผ่น มีคน อยู่14คน ใช้กระดาษเต็ม5แผ่นแบ่ง เท่ากับ15-14เหลือ1 -ได้เรียนรู้การทำblogมากขึ้น ว่าในblogควรมีอะไรในนั้นบ้าง ไม่ว่าจะเป็น อาจารย์ผู้สอน คณะที่เราศึกษา มหาวิทยาลัย ปฏิทิน นาฬิกา ลิ้งที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา ทักษะที่ได้จากการเรียนวันนี้ -การคิดแก้ปัญหา -การพูดเสนอแนะ,ตอบคำถาม -การคำนวณ -การค้นหาคำตอบในวิธีต่างๆ -การใช้เทคโนโลยีร่วมกับการเรียน

การนำไปประยุกต์ใช้ -นำเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนได้ เช่นblog -การนำการคิดคำนวณไปใช้ในชีวิตประจำวันเพราะเราต้องใช้เป็นพื้นฐานอยู่แล้ว การสอนของอาจารย์ -มีการเตรียมตัวในการสอนมาดี -มีกิจกรรมที่ทำให้นักศึกษาสนุกไปกับการเรียน -สามารถเข้าถึงผู้ที่เรียนได้อย่างดี -เปิดโอกาศให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็น การประเมิน ประเมินตนเอง -ตลอดเวลาที่เรียนสนุกไปกับการเรียน เพราะการสอนที่ไม่น่าเบื่อทำให้รู้สึกว่าเรียนแล้วไม่เครียด เข้าใจ ประเมินเพื่อน -เพื่อนๆให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม ตั้งใจเรียนดี ประเมินอาจารย์ผู้สอน -อาจารย์สอนได้สนุก มีการเตรียมความพร้อม แต่งการสุภาพเรียบร้อย