สรุปงานวิจัย
เรื่องทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมปั้นกระดาษ
ผู้ทำการวิจัยวราภรณ์ วราหน
เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา ตามหลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย สิงหาคม 2556
จากการเรียนของเด็กไทยพบว่า ความสามารถของเด็กไทยในด้านการคิดคำนวณ มีคะแนนเฉลี่ยต่ำสุด เนื่องจากคณิตศาสตร์ที่มักใช้วิธีสอนในรูปแบบของสัญลักษณ์ คือสอนด้วยการใช้วาจา และเขียน เด็กถูกสอนโดยเครื่องหมาย จำนวน และถูกสอนให้เข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรม ซึ่งเด็กเล็กจะเจอความลำบากในการทำความเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรม และเริ่มคิดว่าเราจะทำอย่างไรให้เด็กเข้าใจในคณิตศาสตร์ได้อย่างไม่ยากเกินไปสำหรับเด็ก จึงนำการปั้นกระดาษที่เป็นกิจกรรมที่เด็กปฐมวัยชื่นชอบมาประยุกต์ใช้ในการสอนคณิตศาสตร์ด้วย เพราะการปั้นกระดาษทำให้เด็กรู้จักขนาด รูปทรง รูปร่าง จำนวน ฝึกการเปรียบเทียบ เพื่อส่งเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์และเป็นแนวในการพัฒนาความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
จุดมุ่งหมายของการวิจัย
1.เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังที่ได้รับการจัดกิจกรรมปั้นกระดาษ
2.เพื่อศึกษาระดับและการเปลี่ยนแปลงของทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยห่อนและหลังที่ได้รับการจัดกิจกรรมปั้นกระดาษ
1.เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังที่ได้รับการจัดกิจกรรมปั้นกระดาษ
2.เพื่อศึกษาระดับและการเปลี่ยนแปลงของทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยห่อนและหลังที่ได้รับการจัดกิจกรรมปั้นกระดาษ
ขอบเขตของการวิจัย
ประชากรที่ใช้ในการวิจัย
เด็กปฐมวัยชาย-หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปี กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาล 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนวัดนิมมารดี สำนักงานเขตภาษีเจริญ สังกัดกรุงเทพมหานคร
ประชากรที่ใช้ในการวิจัย
เด็กปฐมวัยชาย-หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปี กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาล 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนวัดนิมมารดี สำนักงานเขตภาษีเจริญ สังกัดกรุงเทพมหานคร
กลุ่มตัวอย่างการวิจัย
เด็กปฐมวัยชาย-หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปี กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาล 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนวัดนิมมารดี สำนักงานเขตภาษีเจริญ สังกัดกรุงเทพมหานครที่ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เลือกมา 1 ห้อง 30 คน
8 สัปดาห์ๆ ละ 3 วันๆ ละ 1 ครั้ง ละ 30 นาที
การดำเนินการทดลอง
1.ผู้วิจัยทำการทดสอบก่อนการทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง เพื่อหาพื้นฐานทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย จากนั้นนำมาตรวจให้คะแนนตามเกณฑ์และเก็บคะแนนไว้เป็นหลักฐาน
2.ผู้วิจัยดำเนินการทดลองในกิจกรรมการปั้นกระดาษ ให้เด็กทำกิจกรรมการปั้นต่างๆก่อนการเรียนคณิตศาสตร์ ใช้เวลา 8 สัปดาห์ๆ ละ 3 วันๆ ละ 1 ครั้งๆ ละ 30 นาที ช่วงเวลา 9:30-10.30 รวมทั้งหมด 24 วัน
3.เมื่อดำเนินการทดลองครบ 8 สัปดาห์ ผู้วิจัยทำการทดสอบหลังการทดลอง กับกลุ่มตัวอย่างโดยใช้แบบทดสอบวัดความสามารถทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ฉบับเดียวกันกับแบบทดสอบที่ใช้กับกลุ่มตัวอย่างก่อนการทดลอง
4.นำคะแนนที่ได้ไปวิเคราะห์
1.ผู้วิจัยทำการทดสอบก่อนการทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง เพื่อหาพื้นฐานทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย จากนั้นนำมาตรวจให้คะแนนตามเกณฑ์และเก็บคะแนนไว้เป็นหลักฐาน
2.ผู้วิจัยดำเนินการทดลองในกิจกรรมการปั้นกระดาษ ให้เด็กทำกิจกรรมการปั้นต่างๆก่อนการเรียนคณิตศาสตร์ ใช้เวลา 8 สัปดาห์ๆ ละ 3 วันๆ ละ 1 ครั้งๆ ละ 30 นาที ช่วงเวลา 9:30-10.30 รวมทั้งหมด 24 วัน
3.เมื่อดำเนินการทดลองครบ 8 สัปดาห์ ผู้วิจัยทำการทดสอบหลังการทดลอง กับกลุ่มตัวอย่างโดยใช้แบบทดสอบวัดความสามารถทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ฉบับเดียวกันกับแบบทดสอบที่ใช้กับกลุ่มตัวอย่างก่อนการทดลอง
4.นำคะแนนที่ได้ไปวิเคราะห์
สรุปผลการวิจัย
1.ผลการเปรียบเทียบเด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ทั้งโดยรวมและด้านหลังการจัดกิจกรรมการปั้น สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมการปั้น
2.หลังการจัดกิจกรรมการปั้นเด็กมีพื้นฐานการรู้ค่าจำนวน(การนับ) การเปรียบเทียบ(สูง-เตี้ย ใกล้-ไกล) การจัดหมวดหมู่(ตามรูปทรง ขนาด) การเรียงลำดับ(เรียงลำดับก้อนหินจากเล็กไปหาใหญ่) สูงขึ้น
การนำไปประยุกต์ใช้
-นำกิจกรรมปั้นกระดาษมาใช้ในการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โดยพิจารณาความยาก ง่าย เหมาะสมกับวัยและความสามารถของเด็ก
-สามารถนำการปั้นกระดาษไปช่วยในการสอนคณิตศาสตร์ได้
1.ผลการเปรียบเทียบเด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ทั้งโดยรวมและด้านหลังการจัดกิจกรรมการปั้น สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมการปั้น
2.หลังการจัดกิจกรรมการปั้นเด็กมีพื้นฐานการรู้ค่าจำนวน(การนับ) การเปรียบเทียบ(สูง-เตี้ย ใกล้-ไกล) การจัดหมวดหมู่(ตามรูปทรง ขนาด) การเรียงลำดับ(เรียงลำดับก้อนหินจากเล็กไปหาใหญ่) สูงขึ้น
การนำไปประยุกต์ใช้
-นำกิจกรรมปั้นกระดาษมาใช้ในการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โดยพิจารณาความยาก ง่าย เหมาะสมกับวัยและความสามารถของเด็ก
-สามารถนำการปั้นกระดาษไปช่วยในการสอนคณิตศาสตร์ได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น