วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2559

สรุป งานวิจัย

สรุปงานวิจัย

เรื่องทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมปั้นกระดาษ

ผู้ทำการวิจัยวราภรณ์ วราหน

เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา ตามหลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย สิงหาคม 2556

      จากการเรียนของเด็กไทยพบว่า ความสามารถของเด็กไทยในด้านการคิดคำนวณ มีคะแนนเฉลี่ยต่ำสุด เนื่องจากคณิตศาสตร์ที่มักใช้วิธีสอนในรูปแบบของสัญลักษณ์ คือสอนด้วยการใช้วาจา และเขียน เด็กถูกสอนโดยเครื่องหมาย จำนวน และถูกสอนให้เข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรม ซึ่งเด็กเล็กจะเจอความลำบากในการทำความเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรม และเริ่มคิดว่าเราจะทำอย่างไรให้เด็กเข้าใจในคณิตศาสตร์ได้อย่างไม่ยากเกินไปสำหรับเด็ก จึงนำการปั้นกระดาษที่เป็นกิจกรรมที่เด็กปฐมวัยชื่นชอบมาประยุกต์ใช้ในการสอนคณิตศาสตร์ด้วย เพราะการปั้นกระดาษทำให้เด็กรู้จักขนาด รูปทรง รูปร่าง จำนวน ฝึกการเปรียบเทียบ เพื่อส่งเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์และเป็นแนวในการพัฒนาความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

จุดมุ่งหมายของการวิจัย
1.เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังที่ได้รับการจัดกิจกรรมปั้นกระดาษ
2.เพื่อศึกษาระดับและการเปลี่ยนแปลงของทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยห่อนและหลังที่ได้รับการจัดกิจกรรมปั้นกระดาษ

ขอบเขตของการวิจัย
ประชากรที่ใช้ในการวิจัย
      เด็กปฐมวัยชาย-หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปี กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาล 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนวัดนิมมารดี สำนักงานเขตภาษีเจริญ สังกัดกรุงเทพมหานคร 

กลุ่มตัวอย่างการวิจัย
      เด็กปฐมวัยชาย-หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปี กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาล 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนวัดนิมมารดี สำนักงานเขตภาษีเจริญ สังกัดกรุงเทพมหานครที่ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เลือกมา 1 ห้อง 30 คน

ระยะเวลาการทดลอง
8 สัปดาห์ๆ ละ 3 วันๆ ละ 1 ครั้ง ละ 30 นาที

การดำเนินการทดลอง
1.ผู้วิจัยทำการทดสอบก่อนการทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง เพื่อหาพื้นฐานทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย จากนั้นนำมาตรวจให้คะแนนตามเกณฑ์และเก็บคะแนนไว้เป็นหลักฐาน
2.ผู้วิจัยดำเนินการทดลองในกิจกรรมการปั้นกระดาษ ให้เด็กทำกิจกรรมการปั้นต่างๆก่อนการเรียนคณิตศาสตร์ ใช้เวลา 8 สัปดาห์ๆ ละ 3 วันๆ ละ 1 ครั้งๆ ละ 30 นาที ช่วงเวลา 9:30-10.30 รวมทั้งหมด 24 วัน
3.เมื่อดำเนินการทดลองครบ 8 สัปดาห์ ผู้วิจัยทำการทดสอบหลังการทดลอง กับกลุ่มตัวอย่างโดยใช้แบบทดสอบวัดความสามารถทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ฉบับเดียวกันกับแบบทดสอบที่ใช้กับกลุ่มตัวอย่างก่อนการทดลอง
4.นำคะแนนที่ได้ไปวิเคราะห์

สรุปผลการวิจัย
1.ผลการเปรียบเทียบเด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ทั้งโดยรวมและด้านหลังการจัดกิจกรรมการปั้น สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมการปั้น
2.หลังการจัดกิจกรรมการปั้นเด็กมีพื้นฐานการรู้ค่าจำนวน(การนับ) การเปรียบเทียบ(สูง-เตี้ย ใกล้-ไกล) การจัดหมวดหมู่(ตามรูปทรง ขนาด) การเรียงลำดับ(เรียงลำดับก้อนหินจากเล็กไปหาใหญ่) สูงขึ้น
การนำไปประยุกต์ใช้
-นำกิจกรรมปั้นกระดาษมาใช้ในการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โดยพิจารณาความยาก ง่าย เหมาะสมกับวัยและความสามารถของเด็ก
-สามารถนำการปั้นกระดาษไปช่วยในการสอนคณิตศาสตร์ได้





สรุปบทความ

      อาจบอกได้ว่านิทานเป็นสิ่งที่เด็กๆชื่อชอบ ตรงข้ามกับคณิตศาสตร์ที่เด็กๆมักมองว่ายากและน่าเบื่อ เราจะทำอย่างไรให้เด็กเปลี่ยนความคิด มาสนใจในการเรียนคณิตศาสตร์กัน เพราะจำเป็นต้องใช้ในอนาคต และนิทานนั้นเองก็เป็นสิ่งที่สามารถนำมาสอกแทรกเข้ากับการเรียนคณิตศาสตร์ได้ เพื่อให้เด็กมองเห็นภาพ นับภาพ สนุกไปกับการเรียนรู้ ทำให้เด็กเกิดประสบการณ์จากการมองเห็น และจะถูกบันทึกเป็นฐานข้อมูลไว้ในสมอง ซึ่งประเด็นที่สำคัญของการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ให้เด็กปฐมวัย ต้องเริ่มต้นจากง่ายไปหายาก เปนียบเสมือนเราเดินขึ้นบันไดที่ต้องเดินจากขั้นต่ำไปขั้นสูง

ตัวอย่างนิทานพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์ปฐมวัย

นิทานเรื่อง คุณหนึ่งชวนนับ
( ผู้แต่ง  นาถศจี สงค์อินทร์ )
                        สวัสดีเด็กดี น่ารัก                            คุณเลขหนึ่งทายทัก จำฉันได้ไหม
            เลขหนึ่งมีจำนวนเท่าใด                              นั่นยังไงหนูลองนับดู

                        กระต่าย ตัวกินผัก
ช้างน้อยน่ารัก ตัวกินกล้วย
ปลาแสนสวย  ตัวว่ายมา
หึ่ง หึ่ง บนฟ้า  ผึ้งน้อย ตัว
                      เลขหนึ่งมีจำนวนหนึ่ง                     ถ้าหนูนับหนึ่งหนูต้องรู้ค่า
            นับหนึ่งชู นิ้วขึ้นมา                                   ใครทำได้มารับดาว ดวง 

วันจันทร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่1 วันศุกร์ที่ 8 มกราคม 2559 เวลา 08:30-12:30 น.

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่1 วันศุกร์ที่ 8 มกราคม 2559 เวลา 08:30-12:30 น. บรรยากาศภายในห้องเรียน ในวันนี้เป็นการเรียนวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยวันแรก เพื่อนๆทุกคนที่มาดูกระตือรือร้นในการเรียน เมื่ออาจารย์เข้ามาสอนอาจารย์ก็ทักทายนักศึกษาทุกคนอย่างเป็นมิตร ทำให้การพบกันในวิชานี้ไม่เกร็งและสนุกสนาน อาจารย์ได้มีกิจกรรมให้นักศึกษาทุกคนทำ คือการเขียนจุดเด่นของตนเองที่ผู้อื่นสามารถสังเกตเห็นได้ลงในกระดาษที่อาจารย์ได้แจกให้ โดยกระดาษ1แผ่น ให้จับกลุ่ม3คนแบ่งกระดาษให้เท่ากัน นักศึกษาแต่ละคนเขียนจุดเด่นของตนเอง เมื่อเสร็จอาจารย์ก็จะอ่านข้อความที่นักศึกษาเขียนแล้วทายว่าจุดเด่นนั้นหมายถึงใคร สร้างความสนุกสนานในการเรียนเป็นอย่างมาก ไม่รู้สึกน่าเบื่อเลย นอกจากนี้อาจารย์ยังอธิบายแนวการเรียนของเราทุกคนที่จะเรียนในวิชานี้ มอบหมายให้นักศึกษาทำบันทึกการเรียนลงในblogของตนเอง

การเรียนในวันนี้ความรู้ที่ได้รับ -ในวันนี้อาจารย์กิจกรรมที่อาจารย์ได้ให้กระดาษและแบ่งเป็น1แผ่นต่อ3คน ถือเป็นการเรียนรู้ที่อาจารย์สอนให้นักศึกษารู้จักการคิดแก้ปัญหา ว่าจะทำอย่างไรให้แบ่งกระดาษได้เท่าๆกัน นอกจากนนร้ยังนำเข้าสู่ความรู้ทางคณิตศาสตร์ เพราะมีเศษกระดาษเหลือ1แผ่น มีคน อยู่14คน ใช้กระดาษเต็ม5แผ่นแบ่ง เท่ากับ15-14เหลือ1 -ได้เรียนรู้การทำblogมากขึ้น ว่าในblogควรมีอะไรในนั้นบ้าง ไม่ว่าจะเป็น อาจารย์ผู้สอน คณะที่เราศึกษา มหาวิทยาลัย ปฏิทิน นาฬิกา ลิ้งที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา ทักษะที่ได้จากการเรียนวันนี้ -การคิดแก้ปัญหา -การพูดเสนอแนะ,ตอบคำถาม -การคำนวณ -การค้นหาคำตอบในวิธีต่างๆ -การใช้เทคโนโลยีร่วมกับการเรียน

การนำไปประยุกต์ใช้ -นำเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนได้ เช่นblog -การนำการคิดคำนวณไปใช้ในชีวิตประจำวันเพราะเราต้องใช้เป็นพื้นฐานอยู่แล้ว การสอนของอาจารย์ -มีการเตรียมตัวในการสอนมาดี -มีกิจกรรมที่ทำให้นักศึกษาสนุกไปกับการเรียน -สามารถเข้าถึงผู้ที่เรียนได้อย่างดี -เปิดโอกาศให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็น การประเมิน ประเมินตนเอง -ตลอดเวลาที่เรียนสนุกไปกับการเรียน เพราะการสอนที่ไม่น่าเบื่อทำให้รู้สึกว่าเรียนแล้วไม่เครียด เข้าใจ ประเมินเพื่อน -เพื่อนๆให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม ตั้งใจเรียนดี ประเมินอาจารย์ผู้สอน -อาจารย์สอนได้สนุก มีการเตรียมความพร้อม แต่งการสุภาพเรียบร้อย